วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทคัดย่อเรื่องระดับความเครียดและกลวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ขณะขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก


ระดับความเครียดและกลวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
ขณะขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก

ฐานิกา  บุษมงคล, ทิพวัลย์  ด่านสวัสดิกุล, ปิยาภรณ์   ภูพุฒ, พฤกษชาติ ฤชัย และอุมาพร เคางาม 
วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 2552

บทคัดย่อ
                ความเครียดเป็นสิ่งที่บุคคลไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การเรียนการสอนภาคปฏิบัติเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดความเครียดต่อนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและกลวิธีในการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความเครียด ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ
                ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการขึ้นฝึก นักศึกษาพยาบาลศาสตร์มีระดับความเครียดมากร้อยละ 15 เครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยร้อยละ 25 หลังการขึ้นฝึกนักศึกษาพยาบาลมีระดับความเครียดปกติ/ไม่เครียดร้อยละ 85 กลวิธีเผชิญความเครียดที่ใช้มากที่สุดคือ การฟังเพลงและดูทีวี, การไปเที่ยวกับเพื่อนๆ และการพูดระบายความรู้สึกกับเพื่อน
                ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาหาแนวทางในการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยต่อไป

คำสำคัญ: ระดับความเครียด, กลวิธีเผชิญความเครียด, นักศึกษาพยาบาลศาสตร์, ปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารก


Stress Level and Coping Strategies of Nursing Student during the Maternal and Child Practicum Course 

Thanika  Busmongkhol, Tippawan  Dansawadikul, Piyapron Phoophut, Prueksachart Reuchai  
and Umaporn Koungam
College of Asian Scholars, 2009

ABSTRACT
                Stress is unavoidable for an individual. Clinical learning is one factor that can course stress to nursing students. The objectives of this study were examined stress levels, and coping strategies of nursing students who were practicing in the maternal and child practicum course. The sample was 20 third-year nursing students enrolling in the maternal and child practicum course.  The research instruments include the personal information questionnaire and the stress questionnaire that developed from DASS Stress Scale. Data were analyzed by frequency and percentage.
                Research finding revealed that in the first day stress level of nursing students is severe stress 15 %, moderate stress 25% normal stress    while in the last day stress level of nursing students is normal stress 85 %. And highest coping strategies that were listen music and watch TV, join and talk  with friends.
                Findings from this study can be used as information for consideration to reduce stress level of nursing students in clinical practice. The findings can also be used to enhance clinical learning of nursing students.

Keywords: Stress level, Coping strategies, Nursing student, the maternal and child practicum course



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น